
ใครควรจะตรวจ Mammogram
- สตรีอายุ 35-39 ปี แนะนำทำแมมโมแกรมเพื่อเป็นพื้นฐานอย่างน้อย 1 ครั้ง
- สตรีที่อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แนะนำตรวจเป็นประจำทุกปี
- สตรีที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ได้แก่
- มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม และ/หรือมะเร็งรังไข่
- ผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมมาแล้ว 1 ข้าง
- เคยได้รับการฉายแสงบริเวณหน้าอก
- ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเสริมทดแทน หรือยาคุมกำเนิดบางชนิดเป็นเวลานาน
- ผู้ที่ได้รับการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ หรือผ่าตัดเต้านมแล้วพบความเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- สตรีที่ไม่เคยมีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากว่า 35 ปี
- มีอาการผิดปกติของเต้านม เช่น คลำพบก้อน มีของเหลวหรือเลือดออกจากหัวนม
ก่อนมาตรวจต้องเตรียมตัวอย่างไร
- งดทาแป้ง โลชั่น น้ำหอม สเปรย์ หรือยาดับกลิ่นตัว บริเวณเต้านม หน้าอก และรักแร้ 2 ข้าง เพราะอาจทำให้ดูเหมือนมีความผิดปกติ (หินปูน) ในภาพแมมโมแกรมได้
- แต่งการด้วยชุดแบบ 2 ชิ้น (ท่อนบน-ท่อนล่าง) เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนเสื้อผ้า
- ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 7-14 วันหลังจากหมดประจำเดือน เพราะฮอร์โมนในร่างกายเริ่มลดลง ทำให้เต้านมไม่คัดตึง เวลาตรวจแมมโมแกรมจะได้ไม่เจ็บหรือเจ็บน้อยลง
- ในกรณีที่ท่านตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจทุกครั้ง
- หากมีอาการผิดปกติของเต้านม ควรแจ้งนักรังสีการแพทย์และรังสีแพทย์ที่ทำการตรวจทราบ
- หากท่านมีการเสริมหน้าอก ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้าว่ามีการเสริมหน้าอก และต้องมีการเซ็นต์ใบยินยอมรับการตรวจ เนื่องจากการตรวจแมมโมแกรม อาจทำให้เกิดการรั่วของถุงได้ แม้จะมีโอกาสเกิดน้อยมาก
- สำหรับท่านที่เคยตรวจแมมโมแกรม ควรนำภาพและผลการตรวจเดิมมาด้วย เพื่อให้รังสีแพทย์ใช้ในการเปรียบเทียบ
- แนะนำมาก่อนเวลานัดตรวจ 15 นาที เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการตรวจ
การตรวจ Mammogram มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
- ผู้มารับบริการติดต่อที่แผนกรังสีวินิจฉัยชั้น 4
- เจ้าหน้าที่จะให้ท่านทำการเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดที่ทางรพเตรียมไว้ โดยถอดเสื้อนอก เสื้อใน เครื่องประดับ โลหะต่างๆออกจากบริเวณอวัยวะที่ต้องการจะตรวจ
- นักรังสีการแพทย์จะทำการถ่ายเอกซเรย์เต้านม หรือแมมโมแกรม โดยใช้อุปกรณ์บีบเต้านมเข้าหากัน แล้วทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมข้างละ 2 ท่า
- ผู้รับการตรวจจะต้องอยู่นิ่ง และกลั้นหายใจเป็นช่วงสั้นๆ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด
- ในกรณีพบจุดสงสัย อาจมีการถ่ายภาพเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความชัดเจนในการวินิจฉัย
- หลังจากถ่ายเอกซเรย์เต้านมเสร็จ รอเข้ารับการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมโดยรังสีแพทย์
- เมื่อการตรวจเสร็จสิ้น รังสีแพทย์จะรายงานผลการตรวจเข้าสู่ระบบ PACS ซึ่งสามารถแสดงผลไปยังแผนกที่ผู้รับบริการนัดฟังผลการตรวจได้
- เจ้าหน้าที่ print ผลการตรวจ พร้อมบันทึกภาพลงแผ่น CD ใส่ซองให้ผู้มารับบริการ เพื่อนำกลับไปให้แพทย์เจ้าของไข้
- ในกรณีที่ผู้ป่วยขอตรวจเองโดยไม่มีแพทย์เจ้าของไข้สั่ง หลังตรวจเสร็จจะพบแพทย์ของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเพื่อฟังผลและรับคำแนะนำเบื้องต้น
หมายเหตุ
เนื่องจากโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนไม่มีแผนกผ่าตัด ถ้าผลตรวจ mammogram พบว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องตัดหรือเจาะชิ้นเนื้อหรือ cyst ไปตรวจ แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีแผนกศัลยกรรมเต้านม
Video clip น่ารู้ เรื่องเต้านม
ตารางแพทย์ตรวจ และวันเวลาที่เปิดให้บริการ
อาจารย์แพทย์ผู้ตรวจ
- พุธที่ 1 ของเดือน พญ. ธิติพร จิรนันทนากร จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
- พุธที่ 3 ของเดือน พญ.รุจิภา รัตนราทร จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ
เวลาทำ mammogram และ ultrasound ประมาณ 16.30น.-19.00น.
อัตราค่าบริการ
ที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนจะมีการทำ Ultrasound เต้านม ให้หลังทำ Mammogram ทุกราย
ในกรณีที่มีแพทย์สั่งทำ เสียค่าบริการรวม 3,150 บาท
- ค่า mammogram + ultrasound 3,000 บาท (เบิกได้ 2,400 บาท)
- ค่าบริการผู้ป่วยนอก 150 บาท (เบิกได้ 50 บาท)
- ต้องกลับไปให้แพทย์เจ้าของไข้ที่สั่งทำ mammogram อ่านผลเอง
ในกรณี walkin หรือขอตรวจเอง เสียค่าบริการรวม 3,550 บาท
- ค่า mammogram + ultrasound 3,000 บาท (เบิกได้ 2,400 บาท)
- ค่าบริการผู้ป่วยนอก 150 บาท (เบิกได้ 50 บาท)
- ค่าธรรมเนียมแพทย์ 400 บาท (เบิกไม่ได้)
- หลังทำ mammogram จะพบแพทย์ เพื่ออ่านผลในเบื้องต้นในวันเดียวกัน
ติดต่อเรา : Contact us
งานรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
ชั้น 4 อาคารราชนครินทร์
เลขที่ 420/6 ถนนราชเทวี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์: 02-3069161
Email: Churaporn.oup@mahidol.ac.th
วันและเวลาตรวจแมมโมแกรม : Service Hours
วันพุธที่ 1 และพุธที่ 3 ของเดือน
เวลา 16.30-18.30น.
เพื่อความสะดวก ควรนัดหมาย Online ก่อนมาตรวจ