การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล

          หน่วยสังคมสงเคราะห์และสิทธิ  ให้บริการรับรองการใช้สิทธิรักษาพยาบาลให้กับผู้รับบริการในสิทธิแต่ละประเภทให้ได้รับความสะดวก  รวดเร็ว  ถูกต้อง  ชัดเจน โปร่งใสและตรวจสอบได้  โดยใช้เวลาการตรวจสอบสิทธิประมาณ 5 นาที

          หน่วยสังคมสงเคราะห์และสิทธิ   ตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน  อาคารราชนครินทร์  ชั้น 2 เปิดให้บริการรับรองสิทธิรักษาพยาบาลและรับปรึกษาการใช้สิทธิแต่ละประเภท  ดังนี้

  • วันจันทร์–ศุกร์ เปิดให้บริการเวลา 08.00 – 16.00 น. ที่หน่วยสังคมสงเคราะห์ ชั้น 2
  • วันเสาร์–อาทิตย์และนอกเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป เช็คสิทธิรักษาพยาบาล ที่งานเวชระเบียน ชั้น 1 อาคารราชนครินทร์

ประเภทสิทธิที่ใช้เบิกค่ารักษาพยาบาล

ผู้ป่วยนอก
สามารถใช้สิทธิการรักษาโดยไม่ต้องสำรองจ่าย (ในส่วนค่ารักษาที่เบิกได้)  โดยใช้บัตรประชาชนตัวจริงแสดงสิทธิ

ผู้ป่วยใน
การเตรียมเอกสารประกอบการใช้สิทธิ
ก. กรณีมีสิทธิข้าราชการและตรวจสอบพบชื่อผู้ป่วยในฐานข้อมูลผู้มีสิทธิกรมบัญชีกลาง ไม่ต้องเตรียมเอกสาร
ข. กรณี มีสิทธิข้าราชการ แต่ยังไม่พบ ชื่อผู้ป่วยในฐานข้อมูลผู้มีสิทธิกรมบัญชีกลาง

          – ผู้ป่วยใช้สิทธิของตนเอง ให้เตรียมเอกสารสิทธิดังนี้
1. หนังสือรับรองสิทธิการเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ป่วย
2. สำเนาบัตรประชาชนผู้ป่วย
          – ผู้ป่วยใช้สิทธิบุคคลในครอบครัวข้าราชการ ให้เตรียมเอกสารสิทธิดังนี้
1. หนังสือรับรองสิทธิการเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานต้นสังกัดของบุคคลในครอบครัวที่ผู้ป่วยใช้สิทธิร่วม
2. สำเนาบัตรประชาชนผู้ป่วย และ
3. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสิทธิ

ผู้ป่วยใน   

ไม่ต้องสำรองจ่าย  อัตราการเบิกจ่ายตามระเบียบที่หน่วยงานนั้นๆกำหนดขึ้น                 

การเตรียมเอกสารประกอบการใช้สิทธิ                   
ก. ผู้ป่วยใช้สิทธิของตนเอง  ให้เตรียมเอกสารสิทธิ ดังนี้

  1. หนังสือรับรองสิทธิการเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ป่วย
  2. สำเนาบัตรประชาชนผู้ป่วย

ข. ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิฐานะบุคคลในครอบครัว ให้เตรียมเอกสารสิทธิดังนี้

–  หนังสือรับรองสิทธิการเบิกค่ารักษาจากหน่วยงานต้นสังกัดของบุคคลเจ้าของสิทธิ
–  สำเนาบัตรประชาชนผู้ป่วย    และ
–  สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสิทธิ

หมายเหตุ  กรณีไม่สามารถดำเนินการเรื่องต้นสังกัดได้ทัน  ผู้ป่วยสำรองจ่ายและนำใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลไปเบิกจากหน่วยงานต้นสังกัด

ผู้ป่วยนอก
ใช้สิทธิแบบไม่ต้องสำรองจ่าย (ในส่วนค่ารักษาที่เบิกได้) เฉพาะผู้ที่สังกัดหน่วยงานที่ทางโรงพยาบาลฯ มีข้อตกลงร่วมให้เรียกเก็บ

ทางเจ้าหน้าที่ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ  ก่อนใช้สิทธิทุกครั้ง  เอกสารที่ต้องใช้ประกอบ  ได้แก่  บัตรกรมธรรม์ หรือเลขที่กรมธรรม์ และบัตรประชาชน     สามารถใช้สิทธิการรักษาผ่านระบบ  Fax claim ของโรงพยาบาลฯ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย  (ในส่วนที่อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์  ซึ่งบริษัทประกันจะแจ้งวงเงินสำหรับการ Admit แต่ละครั้งเป็นรายๆไป)

ณ ปี พ.ศ. 2563   สามารถใช้ได้สำหรับผู้มีบัตรประกันชีวิตที่ครอบคลุมเรื่องค่ารักษาพยาบาล   ของบริษัทประกันต่างๆ  ดังนี้

  1. AIA รหัสกรมธรรม์นำหน้าด้วยตัว T หรือ U ใช้ได้เฉพาะผู้ป่วยใน

หมายเหตุ   กรณีผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารใช้สิทธิได้เมื่อได้รับการตอบอนุมัติจากบริษัท AIA

  1. AIA กรมธรรม์ประกันกลุ่มใช้ได้ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก วงเงินจำกัดตามที่ระบุหน้าบัตร
  2. AIA Care Card (ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล) ใช้กรณีการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ  ครอบคลุมไม่เกิน 45 วันนับจากวันเกิดอุบัติเหตุ รวมวงเงินที่เคยได้รับการรักษาจากอุบัติเหตุครั้งนี้ที่โรงพยาบาลอื่นก่อนหน้านี้ด้วย
  3. เมืองไทยประกันชีวิต ประกันกลุ่ม ใช้ได้ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
  4. เมืองไทยประกันชีวิต ประกันเดี่ยวรายบุคคล ใช้ได้เฉพาะผู้ป่วยใน

หมายเหตุ   กรณีผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารใช้สิทธิได้เมื่อได้รับการตอบอนุมัติจากบริษัท

  1. ไทยประกันชีวิต ประกันเดี่ยวรายบุคคล ใช้ได้เฉพาะผู้ป่วยใน

หมายเหตุ   กรณีผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารใช้สิทธิได้เมื่อได้รับการตอบอนุมัติจากบริษัท

  1. อลิอันซ์ ประกันเดี่ยวรายสามัญ เลขที่กรมธรรม์ขึ้นต้นด้วย GEG ใช้ได้ทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
  2. อลิอันซ์ ประกันกลุ่ม ใช้ได้ทั้งกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

เอกสารประกอบการใช้สิทธิ

กรณีมีใบส่งตัว

  • ใบส่งตัวระบุรับรองสิทธิ และ สำเนาบัตรประชาชนผู้ป่วย
  • ใบตรวจสอบสิทธิหน้า web site สปสช.

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินภาวะวิกฤติ/ ผู้พิการ/ ทหารผ่านศึก

  • เอกสารความเห็นจากแพทย์ว่าเป็นการเจ็บปวยฉุกเฉินและ สำเนาบัตรประชาชนผู้ป่วย
  • บัตรผู้พิการ/ทหารผ่านศึก
  • ใบตรวจสอบสิทธิหน้า web site สปสช.

กรณีสิทธิว่าง

  • ใบตรวจสอบสิทธิหน้า web site สปสช.และใบลงทะเบียนสิทธิ
  • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน

เกณฑ์การใช้สิทธิ  ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

  • มีใบส่งตัวจาก รพ.ที่ระบุตามสิทธิบัตร 30 บาทของผู้ป่วย และมีข้อความ/ ใบรับรอง ระบุให้เรียกเก็บค่ารักษาจาก รพ.ตามสิทธิ   หรือ…..
  • เป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ภาวะวิกฤต จำเป็นต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา  หรือมีบัตรบุคคลผู้พิการหรือบัตรทหารผ่านศึก  ซึ่งระบุเป็นสิทธิย่อยใน web ของ สปสช.แล้ว
  • กรณีสิทธิว่างและได้มีการลงทะเบียนจองสิทธิ 30 บาทแล้ว

ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน   สามารถใช้สิทธิได้เมื่อมีใบส่งตัวและมีหนังสือรับรองการเรียกเก็บค่ารักษา จาก รพ.ที่ระบุตามสิทธิบัตรประกันสังคมของผู้ป่วย

เอกสารประกอบการใช้สิทธิ
– ใบส่งตัวระบุรับรองค่ารักษาพยาบาล
– สำเนาบัตรประชาชนและบัตรรับรองสิทธิประกันสังคมของผู้ป่วย

ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน   สามารถใช้สิทธิได้เมื่อมีใบส่งตัวและมีหนังสือรับรองการเรียกเก็บค่ารักษา จาก รพ.ที่ระบุตามสิทธิบัตรประกันสุขภาพของผู้ป่วย

หมายเหตุ

– ก่อนการเข้ารับบริการตรวจรักษา โปรดติดต่อตรวจสอบสิทธิที่งานการเงินและสวัสดิการสังคม ชั้น 2
– การยื่นเอกสารประกอบการใช้สิทธิ ในเวลาราชการยื่นที่ งานการเงินและสวัสดิการสังคม ชั้น 2 อาคารราชนครินทร์ นอกเวลาราชการยื่นที่ งานการเงินและสวัสดิการสังคม ชั้น 1 อาคารราชนครินทร์

ติดต่อเรา

งานการเงินและสวัสดิการสังคม ชั้น 2
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
มหาวิทยาลัยมหิดล อาคารราชนครินทร์ เลขที่ 420/6 ถนนราชเทวี
แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์ 02-3069165

บริษัทประกันคู่สัญญากับโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

  1. บริษัท AIA จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
  5. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
  6. บริษัท FWD ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
  7. บริษัทไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)