สาระน่ารู้คู่ HA

ปี 2560

3P คือ เราต้องรู้เป้าหมาย (purpose) รู้กระบวนการ (process) รู้ผลดําเนินการ (performance) และนําการเรียนรู้ผลนั้นไปสู่การปรับปรุงกระบวนการทํางาน

CQI : เป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงระบบงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (บางท่านอาจใช้คําว่า process improvement หรือ performance improvement)

CQI มักจะใช้แนวคิด PDCA (Plan- Do- Check- Act) ซึ่งเป็นขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่
Plan คือ การวางแผนว่าจะทดสอบความคิดอะไรเพื่อแก้ไขปัญหาในการวางแผนนี้มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นเพื่อให้กําหนดความคิดที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
Do คือ การนําความคิดดังกล่าวไปทดสอบ
Check คือ การวัดผลการทดสอบว่าความคิดดังกล่าวสามารถใช้แก้ปัญหาได้หรือไม่
Act คือ การนําผลการทดสอบไปสู่การปฏิบัติในการทํางานประจําอย่างสม่ําเสมอ

  1. การกระตุ้นให้โรงพยาบาลเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  2. การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (social accountability) ซึ่งโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนจะต้องแสดงออก เพื่อให้สังคมมีความมั่นใจต่อระบบบริการของโรงพยาบาล ด้วยการยินยอมให้องค์กรภายนอกซึ่งมีความรู้ความเข้าใจระบบการดูแลผู้ป่วยเข้าไปประเมินตามกรอบที่ตกลงร่วมกัน
  3. การให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภค
  4. การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการที่ผู้บริหารและผู้ประกอบวิชาชีพของโรงพยาบาลต่างๆ ทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ประเมินในลักษณะของอาสาสมัคร

R2R (Routine to Research) คือ การพัฒนางานประจําสู่งานวิจัย ผลลัพธ์ของ R2R ไม่ได้หวังเพียงได้ผลงานวิจัย แต่มีเป้าหมายเพื่อนําผลงานวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนางานประจํานั้นๆ R2R จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางาน ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

ปัจจัยสําเร็จของ R2R
1. การนําที่ดีและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ผู้นําต้องเป็นผู้ริเริ่ม เห็นความสําคัญ และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
2. การสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้และความเข้าใจทั่วถึงทุกระดับ
3. การให้เวลากับการทํา R2R
4. มีผู้อํานวยความสะดวกเข้าไปช่วยเป็นพี่เลี้ยง ผลักดันให้ก้าวไปข้างหน้า
5. มีการทํา R2R ที่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันเพื่อให้ครบวงจร และแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกจุดอย่างทั่วถึง

R2R จึงเปรียบเสมือนกับนวัตกรรมหรือเครื่องมืออย่างหนึ่งในด้านการจัดการความรู้ซึ่งเป็นแนวโน้มให้เกิดการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่บุคลากรในองค์กรขวนขวาย ศึกษาค้นคว้า นําหลักกระบวนการของการทําวิจัยมาใช้ในเรื่องของการศึกษาค้นคว้า เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในงานประจําวัน และพัฒนาต่อยอดให้งานประจํานั้นๆ มีมาตรฐาน มีกฎเกณฑ์ในการทํางานที่เป็นระบบมากขึ้น

สังคม : สังคมเกิดความเชื่อมั่นว่าโรงพยาบาลต่างๆมีระบบการทํางานที่ไว้ใจได้
ประชาชน : ทราบว่าควรให้ความไว้วางใจกับโรงพยาบาลใด
ผู้ป่วย : ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ไม่เสี่ยงต่อการดูแลรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือถูกปล่อยปละละเลย
ผู้ประกอบวิชาชีพ : ทํางานภายใต้ความเสี่ยงในระดับต่ําที่สุด มีความราบรื่นและคล่องตัวในการทํางาน
โรงพยาบาล : มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ
องค์กรผู้บริหารเงินกองทุนเพื่อสุขภาพ : มีข้อมูลเพื่อคัดเลือกโรงพยาบาลที่จะให้การดูแลผู้ป่วยซึ่งองค์กรนั้นดูแลอยู่
องค์กรวิชาชีพ : มีหลักประกันว่ามาตรฐานวิชาชีพ/ข้อกําหนดต่างๆถูกนําไปปฏิบัติ

2P Safety ผู้ป่วยปลอดภัย เราก็ปลอดภัย เป็นการสร้างความปลอดภัยอย่างเป็นระบบทั้งในกำรดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการ ( P : Patient safety ) และบุคลำกรในกำรปฏิบัติงำน ( P: Personnel safety ) โดยได้มีการกำหนดไว้ในการแถลงนโยบายการขับเคลื่อนความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านมา ซึ่งการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติหรือนาไปปรับใช้นั้นอยู่ในช่วงการยกร่างโดยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง โดยมีการกำหนดแนวทางเป็นอักษรย่อของแนวทำงนั้นว่า SIMPLE ทั้งในการดูแลผู้ป่วย/ผู้รับบริการ ( P : Patient safety ) และบุคลากรในการปฏิบัติงาน ( P: Personnel safety ) แต่ในปัจจุบันเราก็พอมีเอกสารที่สำมารถนามาปรับใช้ได้ก่อนที่จะเกิดแนวทางที่แท้จริงที่กำลังยกร่างกันอยู่ เพื่อนำมาปรับใช้กันก่อนได้ในแต่ละหัวข้อ ดังนั้นการสร้างความปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย และตัวเราในฐานะผู้ให้บริการสามารถทำได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องรอให้แนวทางเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ก่อน และค่อยมาดำเนินการแต่เราสามารถปรับใช้จากสิ่งที่มีอยู่ ค่อยๆปรับปรุง ค่อยๆพัฒนากันไปตามสิ่งที่เกิดขึ้น และเมื่อเราได้คู่มือ และแนวทางที่สมบูรณ์เราค่อยต่อยอด และพัฒนากันต่อไป

ความเหมือนที่แตกต่างของ ISO กับ HA
HA มีต้นกำเนิดในประเทศอเมริกาเมื่อ 70 ปีก่อน โดยมีเป้าหมายเริ่มต้นเพื่อเลือกสรรโรงพยาบาลสำหรับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง และต่อมาถูกนำมาใช้สำหรับเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินสำหรับระบบประกันสุขภาพในช่วงต้นระบบนี้ได้ขยายตัวไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สวีเดน มีการนำ HA มาใช้กับประเทศกำลังพัฒนาเมื่อไม่กี่ปีมานี้ โดยองค์การอนามัยโลกกำลังให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง
ISO 9000 มีต้นกำเนิดมาจากภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เนื่องมาจากความหลากหลายและความสับสนในข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ ISO จึงได้กำหนดมาตรฐานสำหรับระบบบริหารคุณภาพขึ้นเมื่อปี 1987 และปรับปรุงครั้งแรกเมื่อปี 1994
HA และ ISO 9000 มีอะไรที่คล้ายกันและต่างกัน
ความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันมีอยู่ใน 2 ส่วน คือ กระบวนการ และเนื้อหา กระบวนการที่เหมือนกัน คือ การมีมาตรฐานหรือข้อกำหนด การที่องค์กรจะต้องจัดทำระบบคุณภาพหรือพัฒนาคุณภาพ การที่มีองค์กรภายนอกเข้าไปประเมินหรือเยี่ยมสำรวจและการให้ใบรับรอง เนื้อหาที่เหมือนกันคือจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างระบบคุณภาพเพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า
HA และ ISO 9000 มีอะไรที่ต่างกัน
ความแตกต่างหลักมี 2 ประการ ประการแรกคือระดับคุณภาพที่มุ่งหวัง ISO 9000 เน้นที่การสร้างพื้นฐานของคุณภาพและรักษาความสม่ำเสมอของคุณภาพ ส่วน HA เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพิ่มเติมจากการรักษาความสม่ำเสมอของคุณภาพ ประการที่สองคือความเฉพาะเจาะจง ISO 9000 ใช้ได้กับกิจการทุกประเภทส่วน HA
มีความเฉพาะเจาะจงกับโรงพยาบาล

ขั้นที่ 1ขั้นที่ 2ขั้นที่ 3
ภาพรวมใช้วิกฤตเป็นโอกาสเชิงรุกสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ
จุดเริ่มนำปัญหามาทบทวน เพื่อแก้ไขปัญหาวิเคราะห์เป้าหมาย และกระบวนการอย่างเป็นระบบประเมินระดับการปฏิบัติตามมาตรฐาน HA
กระบวนการคุณภาพC-A-P-D (RM/QA)P-D-C-A (QA) / C-A-P-D (CQI)องค์กรเรียนรู้และพัฒนา
เครื่องชี้วัด ความสำเร็จปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดQA/CQI ที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักของหน่วยงานเครื่องชี้วัดคุณภาพที่ดีขึ้น
มาตรฐาน HAไม่เน้นมาตรฐาน HAมาตรฐาน HA ที่จำเป็นและปฏิบัติได้ไม่ยากมาตรฐาน HA ครบถ้วน
ประเมินตนเองเพื่อป้องกันความเสี่ยง (ไม่เน้นแบบฟอร์ม)เพื่อการหาโอกาสพัฒนาเพื่อสังเคราะห์การพัฒนาและผลที่ได้รับ
ความครอบคลุมครอบคลุมปัญหาทีเกิดครอบคลุมกระบวนการสำคัญทั้งหมดเชื่อมโยงกระบวนการและระบบงาน

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) เผยร่างมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่4 ซึ่งเป็นฉบับที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ล่าสุด โดยสรพ.จะเริ่มใช้เพื่อการรับรองกระบวนการคุณภาพตามมาตรฐาน ฉบับใหม่นี้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป

โดยการปรับปรุงมาตรฐานครั้งนี้เพื่อการพัฒนาคุณภาพในหมวดต่างๆ ให้ครอบคลุมหลักการ 2P คือ Patient Safety และ Personal Safety มากยิ่งขึ้น เช่น Clinical Governance, Ethical dilemma, Risk Register และ การใช้ Social Network เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะรวมอยู่ในมาตรฐานเล่มใหม่ และกำลังมีการดำเนินการจัดทำ Scoring Guideline และ Spa and Self-assessment เพื่อให้ทุกโรงพยาบาลใช้เป็นแนวทางการการประเมิน
กระบวนการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลในปี 2561 ต่อไป

สาระน่ารู้คู่ HA - ปี 2560