สาระน่ารู้คู่ HA

ปี 2562

ทักษะการถอดบทเรียนเป็นอีกหนึ่งเกร็ดความรู้ที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการท างานคุณภาพ โดยมีที่มาจากงาน HA National Forum ครั้งที่ 20 โดยกล่าวว่า การถอดบทเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้จากแหล่งความรู้ โดยการสกัดความรู้ ฝังลึกที่มีคุณค่า (Tacit knowledge) นั่นคือ แนวคิด หลักการ วิธีการ และเรื่องราวที่จุดประกาย โดยฟังอย่างตั้งใจจนกระทั่งสามารถสะท้อนใจความหรือประเด็นส าคัญ จึงกลั่นกรองด้วยกระบวนความคิดและถ่ายทอดได้อย่างตรงประเด็น ครบถ้วน เห็นบริบทสอดคล้องกับเจตนารมณ์ที่เจ้าของผลงานต้องการจะสื่อสาร จากนั้นนำมาเรียบเรียงในรูปแบบของสื่อการเรียนรู้ ที่หลากหลายเนื้อหาควรกระชับน่าสนใจ และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่จะเผยแพร่ โดยทันเวลา ทันเหตุการณ์กระบวนการถอดบทเรียน
การถอดบทเรียนเริ่มจากการเลือกหัวข้อที่จะถอดบทเรียน ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารการนำเสนอ บทคัดย่อ เป็นต้น จากนั้นจึงวางโครงร่างเนื้อหาถอดบทเรียน และประเด็นที่ต้องการสื่อสาร จึงถอดบทเรียน เรียบเรียงเนื้อหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยการฟังอย่างตั้งใจ สกัดความรู้ฝังลึก ซึ่งงานถอดบทเรียนการพัฒนาคุณภาพ ประกอบด้วย บริบทขอบเขตของปัญหาตัวชี้วัดการพัฒนาที่สำคัญ กระบวนการรวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา การวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงและนำสู่การปฏิบัติ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงบวกเชิงลบและการประเมินซ้ำ ทบทวนบทเรียนที่ได้รับและแผนการพัฒนาต่อยอดในอนาคต

A-HA คือการก้าวไปสู่ Empowerment Evaluation กําหนดประเด็นในการประเมินร่วมกันส่งเสริมความสามารถในการประเมินของโรงพยาบาล คือ
• ประเมิน compliance ด้วยการใช้ checklist ง่ายๆ MPN
• ประเมิน performance ด้วยข้อมูลที่เก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ
ซึ่งเป็นการใช้ความรู้และประสบการณ์ในองค์กรควบคู่กับ evidence เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาขององค์กร เหมาะสําหรับรพ.ที่ต้องการพัฒนาต่อยอด มีพลังเหลือในการทํางาน ต้องการเชื่อมต่อสู่รางวัล TQA/TQC และรพ.ที่ได้รับการรับรองแล้ว โดยเบื้องต้นมีโครงสร้างมาตรฐานและการรับรอง คือ ใช้โครงสร้างของมาตฐาน HA ทั้งระดับ Overall
Requirement และ Multiple Requirement เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและต่อยอดจากฐานเดิม และทําการขยายความด้วย
รายละเอียดจากแหล่งต่างๆ คือ HA SPA, JCI, MBNQA/TQA
รายละเอียดจยังมีอีกมากมายหากรพ. ของเราต้องการทํา Advance HA ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานที่ต่อยอดการรับรอง HA ที่เคยทําก็คงต้องเตรียมตัว ศึกษาข้อมูล และเตรียมพลังกายพลังใจกันเพิ่มเติม

  • สามารถแสดงให้เห็นการบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กร
  • สามารถแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ clinical outcome
  • มีการประเมินประสิทธิภาพของระบบหลัก
  • มีการใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์
  • มีวัฒนธรรมคุณภาพ ความปลอดภัย การเรียนรู้
  • มีบูรณาการของการพัฒนา
  • มีการพัฒนาที่สามารถใช้เป็นแบบอย่างให้แก่โรงพยาบาลอื่น

ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อเสนอแนะหลักที่ สรพ. ได้แนะนําไว้โรงพยาบาลของเรามีการดําเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดซึ่งถือเป็นหลักการพื้นฐานที่โรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองต้องมี แต่สิ่งที่เราต้องร่วมมือร่วมใจกันนั่นคือการทําให้สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงาน

กระบวนการ HA เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ความสําคัญกับการเสริมพลังแก่สถานพยาบาลด้วยวิธีการประเมินตนเองแบบ Self-Evaluation & Improvement ร่วมกับการประเมินจากภายนอกด้วยวิธีการ Empowerment Evaluation & Recognition ในปัจจุบัน สรพ.ได้ขยายรูปแบบการพัฒนาและรับรองคุณภาพที่มีฐานจากโรงพยาบาลเป็นการรับรองในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งนี้คุณค่าใน spectrum ต่างๆ ของ HA ได้แก่คุณค่าของการรับรองในขั้น 1-2 เป็นการชื่นชมและให้กําลังใจสถานพยาบาลที่เริ่มพัฒนา จากการทบทวนและปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ แต่ยังไม่ชัดเจนในการออกแบบระบบและการนําไปใช้อย่างครอบคลุม การรับรองกระบวนการคุณภาพขั้นก้าวหน้ามุ่งเน้นให้สถานพยาบาลแสดงผลลัพธ์คุณภาพของการพัฒนากระบวนการคุณภาพอย่างเป็นระบบ ที่มีผลลัพธ์เหนือกว่าค่าเฉลี่ย (Score > 3) เป็นการพัฒนาที่มี Multiple cycle of CQI ใช้วิธีการประเมินด้วย Empowerment Evaluation, มีการบูรณาการแผนการดําเนินงาน กระบวนการ และการปฏิบัติ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ค่านิยมกํากับเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

เป็นกรอบที่สถานพยาบาลใช้เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการธำรงคุณภาพและมาตรฐานในงานบริการตลอดจนยกระดับคุณภาพงานบริการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้การจัดการงานคลินิกบริการอย่างเหมาะสมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยเสริมสร้างงานบริการที่เป็นเลิศ
บทบาทของคณะกรรมการกำกับดูแลทางคลินิกที่ทำหน้าที่เต็มรูปแบบ
1. Strategy Formulation ให้ความเห็นชอบต่อกลยุทธ์คุณภาพและความปลอดภัยทางคลินิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กร
2. Policy Making สนับสนุนวัฒนธรรมความปลอดภัย การพัฒนาคุณภาพ การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ และสร้างองค์กรที่ประสบความสำเร็จให้ความเห็นชอบต่อนโยบายคุณภาพและความปลอดภัยทางคลินิกขององค์กรให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนาคุณภาพและแผนบริหารความเสี่ยงขององค์กร
3. Monitoring & Supervising รับทราบรายงานความก้าวหน้าในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
4. Provide Accountability ตอบสนองต่อรายงานความก้าวหน้าในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยทางคลินิกอย่างเหมาะสมทำงานร่วมกันผู้บริหารสูงสุดขององค์กรเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยทางคลินิก

เติมความสมบูรณ์ด้วย C3THER เป็นแนวทางในการทบทวนผู้ป่วยแต่ละรายว่ามีความเหมาะสมหรือได้รับการดูแลที่ครบถ้วนเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนข้างเตียงผู้ป่วย
Care : ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมหรือไม่ ตั้งแต่การประเมิน การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และป้องกันความเสี่ยง
Communication : เราให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยอย่างครบถ้วนแล้วหรือไม่
Continuity : ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องดีหรือไม่ในระหว่างเวรต่างๆ หรือ เมื่อมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปตามจุดบริการต่างๆ หรือเมื่อมีการส่งต่อ รวมทั้งความต่อเนื่องระหว่างการดูแลที่รพ.และที่บ้าน
Team : มีวิชาชีพอื่นใดบ้างที่ควรมาร่วมดูแลผู้ป่วยรายนี้
Human Reourse : มีความรู้และทักษะอะไรที่เราและทีมงานควรพัฒนาเพื่อดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น
Environment & equipment : สิ่งแวดล้อมและเครื่องมือที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยรายนี้มีความเหมาะสมหรือไม่
Record : เราได้บันทึกสิ่งที่ควรบันทึกลงในเวชระเบียนแล้วหรือไม่

เป็นเครื่องมือที่ถูกนำเสนอโดย Institute of Healthcare Improvement (IHI) เพื่อใช้ในการค้นหาอัตราการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยใช้แนวคิดของตัว Trigger ที่เป็นสัญญาณนำสู่การค้นหาเหตุการณ์จำเพาะ (Specific event) บางเหตุการณ์ โดย Trigger นี้ต้องสัมพันธ์กับเหตุการณ์จำเพาะนั้น และสามารถเชื่อมโยงไปสู่เวชระเบียน ซึ่งเราถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูง (ถ้าความสมบูรณ์ของเวชระเบียนมีมากเพียงพอ) การใช้ Trigger เพื่อนำไปสู่เหตุการณ์จำเพาะที่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วย จะทำให้เราลดภาระในการทบทวนเวชระเบียนที่มีจำนวนมากให้เหลือเฉพาะเวชระเบียนในเหตุการณ์ที่เราสนใจ หรือเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทีมสุขภาพในสาขานั้นๆ และลดระดับความลึกของการทบทวนเพียงเพื่อให้เห็นจุดอ่อนในเชิงระบบที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
จะทำให้เครื่องมือนี้สามารถเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ รวมทั้งเมื่อนำสถิติมาคำนวณอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เมื่อเทียบจากจำนวนวันนอนของโรงพยาบาล จะทำให้โรงพยาบาลเห็นระดับปัญหาความไม่ปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างชัดเจน และเมื่อมีกระบวนการปรับปรุงแก้ไขที่ถูกต้องตรงประเด็นปัญหา ก็จะทำให้เห็นระดับความไม่ปลอดภัยของผู้ป่วยลดลงเรื่อยๆ ในทางตรงข้ามก็คือความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ถูกยกระดับเพิ่มขึ้น
อย่างเป็นรูปธรรม
ในการใช้เครื่องมือ Trigger tool มีคำจำกัดความบางคำที่ทีมต้องทำความเข้าใจร่วมกันอย่างชัดเจน เพื่อให้การตัดสินใจเป็นไปทำนองเดียวกัน ลดความขัดแย้งที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการทบทวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ คำจำกัดความ เช่น เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ (adverse event) สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพได้ให้คำจำกัดความว่าหมายถึง การบาดเจ็บ อันตราย หรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลจากการดูแลรักษา
มิใช่กระบวนการตามธรรมชาติของโรค ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น หรืออวัยวะในร่างกายต้องสูญเสียการทำหน้าที่
การดูแลรักษาในที่นี้ ครอบคลุมทั้งการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการแต่ละคน ระบบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องครอบคลุมทั้งการที่ไม่สามารถให้การวินิจฉัยหรือรักษาได้ และการวินิจฉัยหรือรักษาที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น

โดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ได้เริ่มโครงการ SHA ขึ้นเพื่อพัฒนาต่อยอดคุณภาพบริการ ให้ยั่งยืน โดยเน้นการสร้างโรงพยาบาลต้นแบบ ideal hospital ด้วยการน าแนวคิดการบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ แนวคิด Healing Environment, Narrative Medicine, และใช้กระบวนการ Outcome Mapping (แผนที่ผลลัพธ์) พร้อมทั้งท าวิจัยควบคู่เพื่อสร้างความรู้ใหม่ และแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาเชื่อมต่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเพื่อที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพสู่ความยั่งยืน
SHA คือ Sustainable Healthcare & Health Promotion by Appreciation & Accreditation ดังนั้น SHA จึงเป็นความปรารถนา หรือความฝันที่จะได้เห็นโรงพยาบาลมีระบบสุขภาพ ที่เป็นระบบคุณภาพที่มีความปลอดภัย มีมาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานการท างานที่ถูกต้อง มีการใช้มิติจิตใจ หรือการสร้างจิตปัญญาร่วมกัน รวมทั้งการน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อันได้แก่ การมีเหตุมีผล ความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง มาเป็นแนวทางในการทำงาน เพื่อให้เกิดคุณค่าโดยการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ที่มีคุณค่าจึงไม่ใช่เพียงปรับปรุงระบบงานในหน่วยงานเท่านั้น แต่จะต้อง สร้างความยั่งยืน ความเข้มแข็ง ประชาชนมีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ มีความสุข มีสุขภาวะที่ดี และอยู่เย็น เป็นสุข

การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation:HA) คือกลไกกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล ควบคู่ไปกับการเรียนรู้แลกเปลี่ยน และการรับรองจากองค์กรภายนอก จุดสำคัญของการรับรองคือการกำหนดมาตรฐาน ตรวจสอบ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาล
โรงพยาบาลเรามีการดeเนินการจัดทe HA เพื่อใช้ชี้นำทิศทางการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลไปในทิศทางที่เหมาะสม ร่วมทำความเข้าใจกับปัญหาและโอกาสพัฒนาของโรงพยาบาลเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรในโรงพยาบาลรวมตัวกัน เพื่อปรับปรุงระบบงาน มีการจัดวางแผนการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ และเกิดจัดการความรู้รวมถึงนวัตกรรมใหม่ภายในหน่วยงาน

ทำไมต้องมีข้อกำหนดเรื่องกำรส่งข้อมูลผู้ป่วยโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์
ปัจจุบันมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อปรึกษาแนวทางการดูแลผู้ป่วยกันมากขึ้น และมีโอกาสที่ข้อมูลระบุตัวตนของผู้ป่วยจะรั่วไหลไปสู่สังคมวงกว้างได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วยโดยผู้ส่งไม่รู้ตัว
แนวทางปฏิบัติ
1. มีการวางแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนขององค์กรในการปรึกษาข้อมูลผู้ป่วย โดยเน้นคุณภาพของข้อมูลและการรักษาความลับของผู้ป่วย โดยเน้นคุณภาพของข้อมูลและการรักษาความลับของผู้ป่วย เช่น สถานการณ์ที่ไม่ควรปรึกษาการดูแลผู้ป่วยทาง Line, การหลีกเลี่ยงปรึกษาผ่าน Line กลุ่ม
2. ยึดแนวทางปฏิบัติที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำหนดเป็นหลัก
3. ให้ความสำคัญกับการรักษาความลับของผู้ป่วย ขณะเดียวกันสร้างความมั่นใจในการระบุตัวผู้ป่วยอย่างถูกต้อง
– จะลบ ID ที่ติดอยู่กับผลการตรวจต่างๆ อย่างไรจึงจะมั่นใจว่าไม่หลุดรอดไป และจะใช้อะไรเป็นตัวบ่งชี้แทน
– จะเลือกใช้ช่องทางปรึกษาอะไรที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด
– ถ้ามีการปรึกษาผู้ป่วยหลายรายในเวลาใกล้เคียงกัน จะแยกแยะการบ่งชี้ผู้ป่วยแต่ละรายอย่างไร
– ทำอย่างไรจะสร้างนิสัยการทำลายข้อมูลที่ได้รับมาทันทีเมื่อจบสิ้นการให้คำปรึกษาแล้ว
4. ยึดหลักว่าข้อมูลทุกอย่างที่ผ่านช่องทาง social media ไม่เป็นความลับ

Lean แปลตรงตัวว่า เพรียว ไม่มีส่วนเกิน เมื่อนำมาใช้ในการพัฒนาระบบงาน Lean จะหมายความถึงขจัดความสูญเปล่าทุกชนิด ซึ่งเป็นส่วนเกินของระบบงาน
Lean thinking คือ การขจัดความสูญเปล่าทุกประเภทเพื่อให้น าทรัพยากรที่มีอยู่สร้างคุณค่าให้ผู้รับผลงาน เป็นคุณค่าในมุมมองของผู้รับผลงาน
Lean กับแนวคิดที่ใช้ในกำรพัฒนำคุณภาพโรงพยาบาล
1. การวิเคราะห์โอกาสพัฒนาและการตามรอย ความสูญเปล่าเป็น 1 ใน 4 ของการใช้ NEWS ในการวิเคราะห์โอกาสพัฒนาและการตามรอย (NEWS = need & experience of patient, evidence, waste, safety)
2. การใช้แนวคิด Lean เพื่อปรับปรุงคุณภาพในมิติต่างๆ เช่น เพิ่มความครอบคลุมของการเข้าถึง การขจัดความสูญเปล่าคือการเพิ่มประสิทธิภาพ การตอบสนองความต้องการด้านอารมณ์ สังคม จิตวิญญาณ เป็นการตอบสนองคุณค่าในมิติคนเป็นศูนย์กลางการป้องกันความผิดพลาดที่ฝังในระบบและการมองว่าอุบัติการณ์เป็นความสูญเปล่ามีความสอดคล้องกับมิติความปลอดภัย
3. การใช้แนวคิด Lean สอดคล้องกับค่านิยมและแนวคิดหลักของ HA หลายประการ เช่น ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การทำงานเป็นทีม การให้คุณค่ากับบุคลากร การเรียนรู้ การบริหารโดยใช้ข้อมูลจริง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การใช้มุมมองเชิงระบบ และการนำอย่างมีวิสัยทัศน์

Patient and Family Engagement (ความผูกพันของผู้ป่วยและครอบครัว)
คือ การนํามาสู่การร่วมกําหนดเป้าหมาย การให้ข้อมูล ความมีสํานึกรับผิดชอบ การลงมือปฏิบัติการดูแลตนเองความไวต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อทีมงาน ผู้ให้บริการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะนํามาสู่คุณภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วย ความผูกพันของเครือข่ายบริการหรือหน่วยงานในพื้นที่

สาระน่ารู้คู่ HA - ปี 2562